พัดแซทเทิลไลท์,ระบบทีวี,ระบบดิจิตอลทีวี,ระบบไอพีทีวี,iptv,ปรับปรุงระบบทีวี,MATV,ระบบเคเบิ้ลทีวี,digital tv,ระบบทีวีรีสอร์ท,ระบบทีวีต่างชาติ,ระบบทีวีญี่ปุ่น,ใต้หวัน,เกาหลี,จีน 0846529479

บทความ

คำถามที่มักถามกันมาบ่อยๆ www.patsat.net 0846529479

23-02-2566 06:32:58น.

1. ติดจานดาวเทียมแล้วดูอะไรได้บ้าง ? 
ถ้าจะให้ตอบลงไปเลยว่า สามารถรับชมได้กี่ช่องรายการนั้น คงตอบได้ยาก เพราะว่าช่องรายการที่รับมาเป็นช่องรายการที่เรียกว่า “ฟรีทีวี” และเมื่อเป็นฟรีทีวีแล้ว นั่นหมายความว่าช่องรายการจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด และอีกประการหนึ่งขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกใช้จานแบบไหน จะเป็นแบบจาน Move หรือ จาน Fix จะรับแบบ C-Band หรือ KU-Band อันนี้เราก็ต้องมาดูกันอีกที เพราะว่าดาวเทียมแต่ละดวงจำนวนช่องรายการจะไม่เท่ากัน ความน่าสนใจ ความหลากหลายของช่องรายการจะแตกต่างกันออกไป โดยท่านสามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับช่องรายการจากตารางความถี่ ในเวบไซต์


2. ติดจานดาวเทียมแล้วดูยูบีซีได้หรือเปล่า ? 
จานดาวเทียมจะรับสัญญาณภาพได้เฉพาะช่องรายการที่เป็น “ฟรีทีวี” เท่านั้น อะไรที่ไม่ใช่ฟรีทีวีบ้าง อย่างเช่น ยูบีซี เคเบิ้ลท้องถิ่น หรือเคเบิ้ลต่างประเทศ ตรงนี้จะไม่สามารถรับชมได้เนื่องจากเจ้าของผู้ถือลิขสิทธิ์จะทำการล็อคสัญญาณไว้


3. มีรายการหนัง สารคดี และฟุตบอล เหมือนยูบีซีไหม ?
สำหรับคำถามนี้นับว่าเป็นคำถามที่ถูกลูกค้าถามบ่อยมากที่สุดคำถามหนึ่งเช่นกัน ขอบอกเลยนะครับว่า ไม่ว่าจะเป็น HBO , Star Movie , Discovery , National ฯ , Star Sport , ESPN ซึ่งเป็นช่องรายการที่เฉพาะเจาะจง แยกประเภทตายตัวไปเลย จะหาดูแบบนี้ในระบบฟรีทีวีจากดาวเทียมคงเป็นไปได้ยาก เพราะว่าเป็นระบบฟรีทีวี แต่ก็พอมีดูได้บ้างผ่านฟรีทีวีดาวเทียม อาจจะเป็นบางช่วงเวลา ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าเป็นประเภทหนังหรือภาพยนต์ ทีวีบ้านเราช่อง 7 ก็จะมี Big Cinema ช่อง 3 ก็จะเป็น Movie on 3 เป็นต้น ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะแบบนี้มากกว่า หรือว่าจะเป็นช่องรายการสารคดีก็เช่นกัน ต่างประเทศก็จะมีรายการเกี่ยวกับสารคดีเหมือนๆกับบ้านเรา แต่ว่าจะเป็นช่วงเวลาเท่านั้น แต่ถ้าเราลองกลับมามองหรือพิจารณาช่องรายการสารคดีทีวีในบ้านเรา เราก็จะพบว่ามีรายการโทรทัศน์หลายช่องรายการที่ให้ความสำคัญกับช่องรายการประเภทนี้เยอะมาก และบอกได้เลยว่า น่าสนใจและชวนให้ติดตามเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น ส่องโลก โลกสารคดีน่ารู้ แดนสนธยา จอโลก หรือสารคดีแนวใหม่อย่าง โชคดีที่เกิดมาเป็น ถังความคิด หรือ กบนอกกะลาของไทย ส่วนช่องรายการฟุตบอลหรือเกี่ยวกับกีฬาต่างๆนั้น มีทั้งรูปแบบของ 24 ชม.หรือแบบถ่ายทอดสด ทั้งไทยและต่างประเทศ เช่น DD-Sport ของอินเดีย Real MadritTV ของสเปน และโปรแกรมการถ่ายทอดสดจากต่างประเทศ ส่วนของไทยนอกจากทีวีไทยพื้นฐานที่มีการถ่ายทอดเป็นปกติแล้ว ยังมีช่องรายการที่มีการถ่ายทอดฟุตบอล เช่นของรายการ MVTV2 ในดาวเทียมไทยคม


4. แล้วดูบอลพรีเมียร์ได้ไหม ?
อย่างที่ทราบกันดีว่า ฟุตบอลฟรีเมียร์ ลีก เป็นฟุตบอลที่ได้รับความนิยมและมีคนดูมากที่สุดในโลก ลิขสิทธ์การถ่ายทอดจึงมีส่วนสำคัญ สำหรับฟรีทีวีจากจานดาวเทียมจะสามารถรับชมโปรแกรมการถ่ายทอดจากช่องรายการที่เป็นฟรีทีวีทั้งไทยและต่างประเทศ ตามโปรแกรมที่ทางช่องรายการหรือสถานีนั้นได้ซื้อลิขสิทธฺในการถ่ายทอดเข้ามา อาทิเช่น ช่องรายการ MWD ของประเทศพม่า ในดาวเทียม ST1 , Dragon TV ของดาวเทียม Apstar 6 และช่องรายการทีวีของไทย เป็นต้น ส่วนลีกอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ลาลีก้าของสเปน บุนเดสลีก้าของเยอรมัน กัลโช่ซีรี่ R ของอิตาลี หรือ ยูฟ่าแชมป์เปี้ยน ลีค ก็สามารถรับชมตามได้ตามฤดูกาลของการแข่งขัน ซึ่งช่องรายการส่วนใหญ่ที่ถ่ายทอดเป็นประจำ เช่น RCTI , SCTV , ANTV ในดาวเทียม Palapa เป็นต้น สำหรับโปรแกรมการแข่งคุณสามารถโทรเข้ามาสอบถามที่ PSI Call Center หรือของเอกสารทางแฟกซ์ด้วยระบบอัตโนมัติของบริษัท แต่อย่าลืมนะครับว่าช่องรายการที่มีการถ่ายทอดนั้น มาจากดาวเทียมหลายๆดวง จานที่จะเหมาะสมมากที่สุดต้องเป็นจานแบบมูฟ ส่วนจานแบบฟิกซ์นั้นคงต้องเลือกฟิกซ์ให้ตรงกับช่องรายการต้องการให้มากที่สุด


5. แล้วเป็นภาษาอะไรบ้าง ?
อย่างที่ทราบกันดีว่าช่องรายการที่รับมา เป็นรูปแบบฟรีทีวี ภาษาที่รับมาก็จะเป็นภาษาท้องถิ่น รับมาจากประเทศไหนก็เป็นภาษาของประเทศนั้น จะไม่มี Subtitle หรือพากษ์ไทยให้


6. ถ้าทีวีที่บ้านมีหลายเครื่อง จะทำอย่างไร ?

การที่มีทีวีหลายเครื่องที่บ้าน แล้วต้องการดูช่องรายการพร้อมกันจากเครื่องรับสัญญาณ หรือReceiver เครื่องเดียวคงเป็นไปไม่ได้ และไม่สามารถจูนช่องรายการโดยอัตโนมัติเหมือนระบบเสาอากาศได้ เนื่องจากเป็นระบบดิจิตอล ต้องมีอุปกรณ์ช่วยในการรับสัญญาณก่อน ทางแก้ไขก็คือ มีอุปกรณ์ 2 ตัวให้เลือกใช้ ดังนี้
เครื่องรับสัญญาณ หรือ Receiver สามารถแบ่งประเภทตามลักษณะจานได้ดังนี้

จานรุ่น Dmove เมื่อใช้ Receiver แยกตามจำนวนจุดที่ต้องการ สามารถดูช่องรายการที่แตกต่างกันได้ แต่ไม่สามารถแยกไปดูอิสระจากดาวเทียมดวงอื่นได้ มีข้อจำกัดในการแยกดู คือต้องดูช่องรายการที่อยู่ในดาวเทียมดวงเดียวกันเท่านั้น จึงสามารถดูแตกต่างกันได้ จุดที่ไม่ใช่จุดหลักไม่สามารถเปลี่ยนช่องรายการไปดูดาวเทียมดวงอื่นได้ และการแยกหลายจุดโดยใช้ Receiver ค่อนข้างมีปัญหาบ่อย เนื่องจากตัวจานเป็นจาน move ทำให้ลำบากเวลาดูหลายจุดพร้อมกัน และต้องลงทุนราคาสูง

จานรุ่น Dfix เมื่อใช้ Receiver สามารถดูแยกช่องรายการกัน ได้อย่างอิสระ เนื่องจากเป็นตัวจานฟิกซ์อยู่กับที่ และราคาถูกกว่า

Remote Control Link หรือที่เรียกว่า รีโมทลิงค์ สำหรับอุปกรณ์ตัวนี้ สามารถใช้กับทั้งจาน Move และ Fix แต่ว่าจะต้องดูช่องรายการเดียวกัน คือ จุดที่ 1 ดูช่องรายการไหน จุดที่ 2 หรือจุดอื่นๆ ก็ต้องดูช่องรายการนั้นตามไปด้วย ส่วนใหญ่ลูกค้าที่เลือกใช้อุปกรณ์ตัวนี้ จะเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีทีวี 2 เครื่อง เช่น ชั้นบนกับชั้นล่าง หัวค่ำอาจจะทานข้าว ดูข่าวอยู่ชั้นล่าง พอต้องการขึ้นไปดูที่ชั้นบน สามารถนำรีโมทขึ้นไปใช้งานที่ชั้นบนได้ โดยที่ชั้นบนจะจุดรับสัญญาณรีโมทอยู่ สามารถกดรีโมทเพื่อใช้งานได้เลย โดยที่ไม่ต้องไม่ต้องเปิดทีวีชั้นล่างไว้ เปิดเฉพาะ Receiver ทิ้งไว้

7. ระบบ C-Band กับ ระบบ KU-Band  แตกต่างกันอย่างไร ?

ข้อเปรียบเทียบระหว่างจานรับดาวเทียมขนาดเล็ก (KU - Band) และจานใหญ่ (C - Band) ระบบการรับสัญญาณทีวีผ่านดาวเทียมตอนนี้มีอยู่ 2 ย่านความถี่คือ
ย่านความถี่ช่วง C - Band จะส่งความถี่กลับมายังพื้นโลกอยู่ในช่วง 3.4 - 4.2 GHz (กิกะเฮิร์ท) ส่งสัญญาณ ครอบคลุมหลายประเทศ จึงทำให้เราสามารถรับชมสัญญาณจากหลาย ๆ ประเทศด้วย ย่านความถี่นี้เหมาะสมกับประเทศที่มีขนาดใหญ่ ๆ เนื่องจากใช้ดาวเทียม เพียงดวงเดียวส่งสัญญาณ ครอบคลุมทั้งประเทศ รวมทั้งประเทศไกล้เคียงด้วย แต่เนื่องด้วยสัญญาณที่ส่งมาครอบคลุม พื้นที่กว้าง ความเข้มของสัญญาณเลยต่ำจึงต้องใช้จานขนาดใหญ่ จึงจะรับสัญญาณได้ดี ย่านความถี่ช่วง Ku - Band จะส่งความถี่กลับมายังพื้นโลกประมาณ 10-12 GHz.ซึ่งเป็นความถี่ที่สูงกว่าย่าน C - Band สัญญาณครอบคลุมพื้นที่น้อย จึงเหมาะสมกับการส่งสัญญาณภายในประเทศ ในเมื่อครอบคลุมพื้นที่น้อยสัญญาณเลยมีความเข้มสูง ใช้จานขนาดเล็ก ๆ ก็สามารถรับสัญญาณได้ แต่ย่าน Ku - Band เป็นย่านความถี่สูงจึงมีปัญหา กับเม็ดฝน ฝุ่น ละอองในอากาศมาก ดังนั้นเวลาที่ฝนตกสัญญาณเลยอ่อนลง ไปมากจนบางทีไม่สามารถที่จะดูรายการได้ หลักเกณฑ์การพิจารณาขนาดของจานมีดังนี้

สัญญาณยิ่งอ่อนจานรับสัญญาณก็ต้องยิ่งมีขนาดใหญ่ขึ้น
ความถี่ยิ่งเพิ่มขึ้นความยาวคลื่นจะลดลงจานจึงมีขนาดเล็กลง